กระจกตาโป่ง (Keratoconus) ใช้ OK Lens และ Scleral Lens (HN07278)

กระจกตาโป่ง (Keratoconus) ใช้ OK Lens และ Scleral Lens (HN07278)

ประวัติ

คนไข้ชายไทยอายุ 19 ปี ไปปรึกษาการทำเลสิก แต่ทำไม่ได้เนื่องจากเป็นกระจกตาย้วย จึงได้แนะนำคอนแทคเลนส์ RGP ใส่กลางวัน แต่คนไข้ไม่สะดวกใส่ อยากลองใช้ OK lens

ผลการตรวจสายตา (Subjective refraction)

  • ตาขวา : -3.50 -3.75 x 30      VA 20/50-1
  • ตาซ้าย : -0.50-0.75 x 145     VA 20/25

หลังใส่ OK Lens แล้ว คนไข้เห็นได้ชัดเจนขึ้น ได้ค่าการมองเห็น 20/20-2 ทั้งสองข้าง

หลังใช้โอเคเลนส์ได้ 2 ปี คนไข้ทำเลนส์ด้านซ้ายหาย แนะนำให้คนไข้เปลี่ยนมาใช้ Scleral lens หลังจากใส่ Scleral lens ได้ค่าการมองเห็นดีมากทั้งสองตา (ขวา 20/20-1 ซ้าย  20/20) คนไข้สามารถใส่เลนส์ได้วันละ 14-15 ชั่วโมงต่อเนื่อง

*****การฟิต OK Lens ให้กับคนไข้กระจกตาโป่ง จะมีความยากกว่าการฟิตใรคนที่กระจกตาปกติ เนื่องจากคนไข้มักมีกระจกตานูนมาก เอียงมาก และจุดนูนมักไม่อยู่กลางตาดำ  อย่างไรก็ดี เลนส์ที่เหมาะสมจะทำให้คนไข้มีการมองเห็นที่ดีขึ้นได้โดยเฉพาะกรณีที่กระจกตายังโป่งไม่มาก และยังไม่มีรายงานถึงความปลอดภัยในการใส่เลนส์ระยะยาว ดังนั้นคนไข้จึงควรมาตรวจตามผลเป็นระยะ

ภาพถ่ายแผนที่กระจกตา ก่อนใช้ OK Lens

ภาพถ่ายแผนที่กระจกตา หลังใช้ OK Lens

ภาพ Slit lamp ของตาคนไข้ ขณะใส่ Scleral lens

  • ตาขวา

  • ตาซ้าย

แชร์ไปที่ :

บทความอื่นๆ

ติดต่อนัดหมาย