กระจกตาโป่ง (Keratoconus) เปลี่ยนกระจกตา ขี่มอเตอร์ไซค์และดำน้ำเป็นประจำ (HN06495)

กระจกตาโป่ง (Keratoconus) เปลี่ยนกระจกตา ขี่มอเตอร์ไซค์และดำน้ำเป็นประจำ (HN06495)

ประวัติ

ชายชาวรัสเซีย อายุ 26 ปี ปัจจุบันอาศัยอยู่ในประเทศไทย เป็นกระจกตาโป่ง (Keratoconus) ทั้งสองข้าง ตาซ้ายเปลี่ยนกระจกตาแล้วเมื่อ 4 ปีก่อน แต่ตาขวายังไม่ได้เปลี่ยน

ปัจจุบันใส่ Corneal RGP lens ทั้งสองตา

มาด้วยอาการคอนแทคเลนส์ตาซ้ายที่ตัดมาจากรัสเซีย เมื่อใส่แล้วมีอาการเคืองตาและเริ่มมองเห็นไม่ชัด อยากได้คอนแทคเลนส์ใหม่ที่ทำให้มองเห็นชัดเจนขึ้น และใส่สบายตา

ค่าสายตา

  • ตาขวา : +0.50 -7.00 x 71       VA 20/40
  • ตาซ้าย0.00 -2.50 x 70         VA 20/50

Examination

Slit lamp : กระจกตาทั้งสองข้างยังใสดี ข้างซ้ายมีรอยแผลเป็นจากการผ่าตัดเปลี่ยนกระจกตา กระจกตาใส ไม่มีการอักเสบ ตัดไหมหมดแล้ว

คนไข้อาศัยอยู่ที่เกาะแห่งหนึ่งในประเทศไทย มีอาชีพเอเย่นทัวร์จัดทัวร์ให้กับชาวรัสเซียที่มาเที่ยวเมืองไทย มักจะต้องดำน้ำอยู่เป็นประจำ เลนส์เดิมเป็น Corneal RGP ซึ่งเล็กกว่าตาดำ มีโอกาสหลุดขณะดำน้ำ  ดร.เบิร์ด จึงแนะนำให้ใช้ Scleral lens เนื่องจากเลนส์มีขนาดใหญ่จะไม่หลุดออกจากตาได้ง่ายและสามารถใส่ว่ายน้ำหรือดำน้ำได้

ดร.เบิร์ด จึงทำการฟิต Scleral Lens ในตาซ้าย หลังจากได้รับเลนส์ คนไข้พอใจกับเลนส์ที่ได้เป็นอย่างมาก สามารถมองเห็นได้ชัดเจนระดับ 20/20 เหมือนคนปกติ แต่ละวันคนไข้ใส่เลนส์ 17-18 ชั่วโมง โดยไม่มีปัญหาเลนส์หลุดออกจากตา ตาไม่เคืองมากเมื่อมีฝุ่นเข้าตา นอกจากนั้นคนไข้ยังสามารถใส่เลนส์ไปดำน้ำได้ด้วย

หลังจากใส่เลนส์ตาซ้าย 6 เดือน คนไข้ตัดสินใจทำ Scleral lens ที่ตาขวาเพิ่มเติมอีกหนึ่งข้าง เนื่องจากกลัวเลนส์ขวาชิ้นเดิมหลุดหาย เลนส์ขวาใหม่ก็ใช้งานได้ดีและให้การมองเห็นถึงระดับ  20/20 ดังเช่นตาคนปกติ

หมายเหตุ

  • Scleral lens สามารถใส่ดำน้ำได้ โดยไม่ต้องกังวลว่าเลนส์จะหลุดหายเหมือน Corneal RGP เนื่องจากมีขนาดที่ใหญ่กว่า โดยหลังจากขึ้นจากน้ำ ควรถอดเลนส์แล้วนำมาล้างด้วยน้ำเกลือ และใส่เข้าไปใหม่ได้ทันที
  • ม่ควรใส่คอนแทคเลนส์นิ่ม (Solf CL) ว่ายน้ำหรือดำน้ำ หรือถ้าใส่ หลังจากขึ้นจากน้ำควรถอดเลนส์คู่นั้นทิ้งทันที เนื่องจากคอนแทคเลนส์ชนิดนี้มีรูพรุนคล้ายฟองน้ำ ถ้าเชื้อโรคหรือสิ่งสกปรกที่อยู่ในน้ำเข้าตา ก็จะเข้าไปอยู่ในเนื้อเลนส์และไม่สามารถล้างออกได้ อาจเป็นอันตรายต่อดวงตาหากนำเลนส์คู่นั้นมาใช้ต่อ

ภาพถ่ายแผนที่กระจกตาของคนไข้

 

ภาพถ่าย Slit lamp ขณะคนไข้ใส่ RGP lens

  • ตาขวา

  • ตาขวา เมื่อย้อมสีด้วย Fluorescein

ภาพถ่าย Slit lamp ขณะคนไข้ใส่ Scleral lens

  •   ตาขวา

  • ตาซ้าย

แชร์ไปที่ :

บทความอื่นๆ

ติดต่อนัดหมาย