กระจกตาโป่ง (Keratoconus) ใช้ Ortho-K Lens และ Scleral Lens (HN07278)

กระจกตาโป่ง (Keratoconus) ใช้ Ortho-K Lens และ Scleral Lens (HN07278)

ประวัติ

คนไข้ชายไทยอายุ 19 ปี ไปปรึกษาการทำเลสิก แต่ทำไม่ได้เนื่องจากเป็นกระจกตาย้วย จึงได้แนะนำคอนแทคเลนส์ RGP ใส่กลางวัน แต่คนไข้ไม่สะดวกใส่ อยากลองใช้ Ortho-K lens

ผลการตรวจสายตา (Subjective refraction)

  • ตาขวา : -3.50 -3.75 x 30      VA 20/50-1
  • ตาซ้าย : -0.50-0.75 x 145     VA 20/25

หลังใส่ Ortho-K Lens แล้ว คนไข้เห็นได้ชัดเจนขึ้น ได้ค่าการมองเห็น 20/20-2 ทั้งสองข้าง

หลังใช้โอเคเลนส์ได้ 2 ปี คนไข้ทำเลนส์ด้านซ้ายหาย แนะนำให้คนไข้เปลี่ยนมาใช้ Scleral lens หลังจากใส่ Scleral lens ได้ค่าการมองเห็นดีมากทั้งสองตา (ขวา 20/20-1 ซ้าย  20/20) คนไข้สามารถใส่เลนส์ได้วันละ 14-15 ชั่วโมงต่อเนื่อง

*****การฟิต Ortho-K Lens ให้กับคนไข้กระจกตาโป่ง จะมีความยากกว่าการฟิตใรคนที่กระจกตาปกติ เนื่องจากคนไข้มักมีกระจกตานูนมาก เอียงมาก และจุดนูนมักไม่อยู่กลางตาดำ  อย่างไรก็ดี เลนส์ที่เหมาะสมจะทำให้คนไข้มีการมองเห็นที่ดีขึ้นได้โดยเฉพาะกรณีที่กระจกตายังโป่งไม่มาก และยังไม่มีรายงานถึงความปลอดภัยในการใส่เลนส์ระยะยาว ดังนั้นคนไข้จึงควรมาตรวจตามผลเป็นระยะ

ภาพถ่ายแผนที่กระจกตา ก่อนใช้ Ortho-K Lens

ภาพถ่ายแผนที่กระจกตา หลังใช้ Ortho-K Lens

ภาพ Slit lamp ของตาคนไข้ ขณะใส่ Scleral lens

  • ตาขวา

  • ตาซ้าย

แชร์ไปที่ :

บทความอื่นๆ

ติดต่อนัดหมาย