คนไข้เพศหญิง อายุ 22 ปี มาด้วยอาการสายตาสั้นและเอียงเยอะ ต้องการสอบแอร์โฮสเตส (07322)

คนไข้เพศหญิง อายุ 22 ปี มาด้วยอาการสายตาสั้นและเอียงเยอะ ต้องการสอบแอร์โฮสเตส (07322)

ประวัติ

คนไข้เพศหญิง อายุ 22 ปี มาด้วยอาการสายตาสั้นและเอียงเยอะ ต้องการสอบแอร์โฮสเตส โดยแว่นเดิมกับคอนแทคเลนส์นิ่มเดิมที่ใส่อยู่ไม่ค่อยชัดและมีค่าสายตาสั้นเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ

Examination

วัด VA ตาเปล่า ได้ 20/200 ที่ระยะ 1 เมตร ทั้งสองตา

ค่าแว่นปัจจุบัน

  • ตาขวา : -7.75-2.25×2
  • ตาซ้าย : -8.75-1.50×161

ค่าคอนแทคเลนส์นิ่มปัจจุบัน

  • ตาขวา : -8.50-1.75×170
  • ตาซ้าย : -8.00-2.25×180

ค่าสายที่วัดได้ (Subjective refraction)

  • ตาขวา : -11.5-3.75×8            VA 20/20
  • ตาซ้าย : -9.75-2.00×170       VA 20/20

ดร.เบิร์ดได้ทำการฟิตเลนส์ทั้ง 3 ชนิดให้กับคนไข้ ดังต่อไปนี้

1. Piggy back คือ การใส่ Scleral lens และทับด้วยคอนแทคเลนส์ชนิดนิ่ม เพื่อให้ง่ายต่อการปรับตัว ปรากฎว่าสามารถอ่าน VA ได้ถึง 20/20 แต่ยังคงมีความกังวลว่าหากไปสอบแล้วกรรมการให้อ่านตัวเลขและถอดคอนแทคเลนส์ออก จะไม่สามารถอ่านตัวเลขได้ ดร.เบิร์ดจึงได้ทำการฟิตติ้ง OK lens

2. OK lens ใส่นอน เป็นเลนส์ชนิดกึ่งนิ่มกึ่งแข็งที่ใส่นอนเพื่อปรับความโค้งกระจกตา และถอดเลนส์เมื่อตื่นนอน โดยไม่ต้องใส่แว่นหรือคอนแทคเลนส์ แต่เนื่องจากคนไข้มีเวลาก่อนไปสอบไม่ถึง 1 อาทิตย์ ทำให้การใช้ OK lens ใส่นอนอาจจะไม่สามารถแก้ไขค่าสายตาได้หมด เพราะคนไข้มีค่าสายตาค่อนข้างเยอะการลดค่าสายตาสั้นด้วยวิธีนี้อาจจะต้องใช้เวลามากกว่า 1 อาทิตย์ ดังนั้น วิธีสุดท้ายที่ ดร.เบิร์ด ได้เลือกฟิตติ้งให้คนไข้เพื่อไปสอบ คือ Distant center ใน RGP เลนส์ โดยหากกรรมการให้ถอดคอนแทคเลนส์ออก จะยังสามารถอ่านตัวเลขได้

3. Distant center ใน RGP 

 

  1. โอเคเลนส์ใส่ขณะหลับ

ข้อดี

  • เพื่อคุมสายตาสั้นไม่ให้สั้นเพิ่มมากขึ้น
  • กลางวันสามารถมองเห็นได้ชัดขึ้นโดยที่ไม่ต้องใส่แว่นหรือคอนแทคเลนส์

ข้อเสีย

  • เห็นแสงฟุ้ง (Glare) ในตอนกลางคืน
  • เลนส์ใส่นอนอาจแก้ไขค่าสายตาในคนไข้รายนี้ได้ไม่หมดเนื่องจากคนไข้มีสายตาสั้นและเอียงเยอะ
  • ความคมชัดอาจไม่คงที่ในแต่ละวันถ้าคนไข้นอนพักผ่อนไม่เพียงพอหรือเลนส์มีการเคลื่อนขณะหลับ ซึ่งหลังจากใส่เลนส์นาน 17 วัน พบว่า วัด VA ตาขวาได้ 20/50 ที่ระยะ 6 เมตร VA ตาซ้ายได้ 20/100 ที่ระยะ 6 เมตร พบว่า คนไข้มีการมองเห็นที่ชัดขึ้นแต่ยังคงเห็นภาพซ้อนและภาพมัวอยู่บ้าง

 

2. โอเคเลนส์ใส่กลางวัน

ข้อดี

  • การมองเห็นคมชัดและสามารถคุมสายตาสั้นได้

ข้อเสีย

  • ใส่แล้วมีอาการเคืองตา ถ้ามีอาการตาแห้งมากๆเลนส์อาจหลุดหล่นหายระหว่างการใช้งานได้
  • เห็นแสงฟุ้ง (Glare) ในตอนกลางคืน
  • ราคาสูงกว่าโอเคเลนส์ใส่นอน

 

3. Piggy back (Scleral lens & Soft lens)

  • เนื่องจากคนไข้ต้องการการมองเห็นที่คมชัดสุดเพื่อที่จะไปสอบแอร์โฮสเตส เนื่องด้วยเวลาที่จำกัดเราจึงเลือก ใช้วิธีแก้ไขสายตาด้วย Piggy back นั่นคือการใส่ Scleral lens ก่อนแล้วใส่ Soft lens ทับไว้ด้านบน
  • พบว่าคนไข้หลังจากใส่เลนส์แล้วมีการมองเห็นที่คมชัดได้ตามเกณฑ์การสอบ ซึ่งวัด VA ได้ 20/20-2 ทั้งสองตา

ภาพแผนที่กระจกตาก่อนใส่โอเคเลนส์ ตาขวา (ภาพซ้าย), ตาซ้าย (ภาพขวา)

ภาพแผนที่กระจกตาหลังใส่ OK lens ตาขวา (ภาพซ้าย), ตาซ้าย (ภาพขวา)

ภาพถ่ายจาก Slit lamp

  • ตาขวา

  • ตาซ้าย

  • ตาขวา

  • ตาซ้าย

แชร์ไปที่ :

บทความอื่นๆ

ติดต่อนัดหมาย