ประวัติ
คนไข้เพศหญิง ชาวอินเดีย อายุ 37 ปี เป็นโรคกระจกตาโป่ง (Keratoconus) ทั้งสองข้าง ปัจจุบันใส่ Scleral lens ที่ทำจากประเทศอินเดียมานานกว่า 10 ปี ช่วงแรกที่ใส่เลนส์ สามารถใส่ได้นานทั้งวัน แต่ระยะหลังๆ เริ่มมีปัญหาใส่เลนส์แล้วตาจะแดงตลอดเวลา และมีปัญหาตาติดเชื้อบ่อยครั้งในปีที่ผ่านมา
เมื่อซักประวัติเพิ่มเติม พบว่า คนไข้ไม่เคยล้างคราบโปรตีนเลย ใช้แต่น้ำยาแช่เลนส์หลังจากถอดเท่านั้น
เมื่อตรวจดูเลนส์ขณะอยู่บนดวงตา พบว่า เลนส์มีสีเข้ม และมีคราบโปรตีนหนาสะสมที่ผิวด้านหน้า ดังภาพด้านล่าง
- ตาขวา
- ตาซ้าย
ค่า Scleral lens ที่เคยใช้
- ตาขวา : +0.34-0.46×079
- ตาซ้าย : -0.41-0.11×108
ค่าสายตาจริงที่วัดได้ (ก่อนใช้เลนส์)
- ตาขวา : -2.75-8.00×35 VA 20/100
- ตาซ้าย : -1.75-5.75×155 VA 20/25
หลังจากตรวจตาอย่างละเอียด คนไข้ตัดสินใจตัด Scleral Lens ใหม่ทั้งสองข้าง
หลังได้รับเลนส์ใหม่ที่ ดร.เบิร์ด ตัดให้ คนไข้ดีใจมาก เนื่องจากสามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจน โดยมี VA 20/20 ในตาทั้งสองข้าง สามารถใส่เลนส์ใหม่ได้นานตลอดทั้งวันโดยไม่มีอาการตาแดงหรือระคายเคืองตา
นอกจากนี้ ดร. เบิร์ด ยังกำชับให้ล้างโปรตีนเป็นระยะอย่างน้อยทุก 1-2 เดือน เพื่อความสบายตาและการมองเห็นที่ชัดเจนสูงสุด
ภาพตาคนไข้ขณะใส่ Scleral Lens คู่ใหม่ สังเกตเห็นว่าเลนส์ใส ไม่มีคราบสีดำเหมือนคู่เดิม และดวงตาก็มีเส้นเลือดลดลงด้วย
ภาพถ่ายแผนที่กระจกตาของคนไข้ที่เป็นกระจกตาโป่งทั้งสองตา โดยตาขวา (ภาพซ้ายมือ) มีความรุนแรงมากกว่าตาซ้าย (ภาพขวามือ)