ประวัติ
คนไข้เพศชาย อายุ 32 ปี มีอาการกระจกตาโป่ง (Keratoconus) ทั้งสองข้าง โดยตาข้างขวารอการเปลี่ยนกระจกตา เคยใส่คอนแทคเลนส์ชนิดแข็ง (RGP) แต่ปัจจุบันไม่ได้ใส่แล้ว เนื่องจากใส่แล้วเคืองตามาก ส่วนตาซ้ายได้ทำการผ่าตัดเปลี่ยนกระจกตาเรียบร้อยแล้ว หลังผ่าก็ใส่ RGP ไม่ได้เช่นเดียวกัน คนไข้อยากมองเห็นชัดขึ้น จักษุแพทย์จึงแนะนำมาทำ RGP
ค่าแว่นปัจจุบันที่ใช้อยู่ การมองเห็นแย่มากโดยเฉพาะตาด้านขวา
- ตาขวา : -6.00 VA 20/200 @ 1 เมตร
- ตาซ้าย : -6.00-4.25×166 VA 20/100 @ 6 เมตร
ดร.เบิร์ด ได้ทำการฟิต Scleral lens หลังใส่เลนส์แล้ว คนไข้กลับมามองเห็นได้ชัดเจนใกล้เคียงคนสายตาปกติ คือ
ค่าการมองเห็นที่ดีที่สุด (Best VA) หลังใส่ Scleral Lens
- ตาขวา VA 20/20-3
- ตาซ้าย VA 20/20-1
หมายเหตุ
- คนไข้ที่เป็นกระจกตาโป่ง ถ้ายังไม่รุนแรงอาจจะสามารถใส่เลนส์ Corneal RGP ได้ (เช่น RoseK) แต่ถ้ากระจกตาโป่งมากขึ้น อาจจะไม่สามารถใส่เลนส์เดิมได้ โดยสิ่งที่จะสังเกตได้คือ เลนส์จะหลุดออกจากตาง่าย เลนส์เลื่อนไปมาง่าย หรือใส่เลนส์แล้วระคายเคืองตามากขึ้น
- คนไข้ที่เป็นกระจกตาโป่งขั้นรุนแรง (Advanced Keratoconus) ทั้งที่ใส่ Ring แล้วหรือยังไม่ได้ใส่ Ring และทั้งที่เปลี่ยนกระจกตาแล้ว (Post PK, Corneal Transplant) ก็สามารถใส่ Scleral Lens ได้ เนื่องจาก Scleral Lens เป็นเลนส์ที่ใหญ่กว่าตาดำ เลนส์จะวางอยู่บนส่วนตาขาวและยกข้ามไม่สัมผัสกระจกตาเลย ทำให้เลนส์ใส่สบาย ไม่เคืองตา และไม่หลุดออกจาตาง่าย นับว่าเป็นเลนส์ที่ดีที่สุดสำหรับคนไข้กลุ่มนี้ในการแพทย์ปัจจุบัน
ภาพแผนที่กระจกตาของตาขวา (ภาพด้านซ้าย) ซึ่งยังไม่ผ่าเปลี่ยนกระจกตา และภาพด้านขวา คือ ภาพแผนที่กระจกตาของตาซ้ายที่ผ่าเปลี่ยนกระจกตาแล้ว
ภาพถ่ายจาก Slit lamp ขณะที่ยังไม่ใส่ Scleral Lens
- ตาขวา
- ตาซ้ายที่ผ่าเปลี่ยนกระจกตาแล้ว (สังเกตเห็นรอยเย็บและขอบเขตกระจกตาที่เปลี่ยนใหม่)
ภาพถ่ายจาก Slit lamp ขณะที่ใส่ Scleral Lens
- ตาขวา
- ตาซ้าย ที่ผ่าเปลี่ยนกระจกตาแล้ว ทำให้กลับมามองเห็นชัดใกล้เคียงคนปกติ