การเปลี่ยนแปลงในลูกตาเมื่อสายตาสั้นเพิ่มขึ้น

การเปลี่ยนแปลงในลูกตาเมื่อสายตาสั้นเพิ่มขึ้น

สายตาสั้นเพิ่มขึ้น เกิดการเปลี่ยนแปลงอะไรในลูกตาเราบ้าง?

หลายๆท่านอาจมีความสงสัยมานานแล้ว เวลาสายตาสั้นเพิ่มขึ้นต้องใส่แว่นหนาขึ้น หรือการเพิ่มขึ้นของสายตาแล้วตามัวลงนั้น มีการเปลี่ยนแปลงอะไรบ้างในลูกตาเรา

ในคนสายตาปกติ (Normal vision) เมื่อแสงเข้าสู่ดวงตา แสงโฟกัสพอดีที่จอตา ในขณะที่คนสายตาสั้น (Myopia) เมื่อแสงเข้าสู่ดวงตา แสงโฟกัสสั้นกว่าจอตา ทำให้เกิดสายตาสั้น มองไกลไม่ชัด แต่มองใกล้ชัดนั่นเอง

 

ที่มา : https://www.exetereye.co.uk/eye-conditions/short-sightedness-myopia/

 

กระบวนการเกิดสายตาสั้นมีความเกี่ยวข้องกับ 3 สิ่งหลักๆ ดังต่อไปนี้

  1. กระจกตา (Cornea) เป็นอวัยวะแรกของตาที่ใช้ในการหักเหแสง หากกะจกตามีความโค้งมาก แสงที่เข้าสู่ดวงตามีระยะโฟกัสสั้นลง ทำให้เกิดสายตาสั้น
  2. เลนส์ตา (Lens) ทำหน้าที่รวมแสงเข้าสู่ตา หากเลนส์ตานูนมากเกินไปทำให้ระยะโฟกัสสั้นลง ทำให้เกิดสายตาสั้น

แต่โดยทั่วไปแล้วกระจกตาและเลนส์ตา มักจะไม่ค่อยเปลี่ยนหรือเปลี่ยนแปลงน้อยมาก แต่สิ่งที่เปลี่ยนไปเยอะมาก คือ

3. ความยาวกระบอกตา (Axial length) ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงหลักที่ทำให้สายตาสั้นมากเพิ่มขึ้น โดยสายตาที่สั้นเพิ่มขึ้น มาจากการที่กระบอกตายาวขึ้น (Axial length elongation) จอตาขยับไปไกลขึ้น ในขณะที่แสงมีจุดโฟกัสที่เดิมในตา ทำให้แสงยิ่งโฟกัสสั้นกว่าจอตา ทำให้มองเห็นไม่ชัด ต้องเปลี่ยนเลนส์ให้มีกำลังมากขึ้น เพื่อให้แสงไปตกพอดีบนจอตา

ภาพแสดงกระบอกตาที่ยาวขึ้น (Axial length elongation) ในคนสายตาสั้น แสงที่โฟกัสจุดเดิมยิ่งห่างจอตามากขึ้น ส่งผลให้สายตาสั้นมากขึ้น ตามัวมากขึ้น

ที่มา : https://www.ledinside.com/news/2022/8/kubota_glass

แชร์ไปที่ :

บทความอื่นๆ

ติดต่อนัดหมาย