ประวัติ
คุณเอ เพศชาย อายุ 24 ปี ไปตรวจตาที่โรงพยาบาลแห่งหนึ่ง พบว่าเป็นโรคกระจกตาโป่งพอง (Keratoconus) ตาขวา เพียงข้างเดียว โดยทางโรงพยาบาลแนะนำให้ใส่ Ring แต่คุณเอมีความกังวลเรื่องการขับรถเวลากลางคืน
ค่าสายตาที่วัดได้ (Subjective refraction)
- ตาซ้าย : -1.25 -6.50 x10 VA 20/62-2
- ตาขวา : +0.50 -0.25 x31 VA 20/20
จากการสอบถามเพิ่มเติมพบว่า คุณเอ ชอบขยี้ตาบ่อยๆ เพราะรู้สึกเคืองตา แต่ไม่มีประวัติภูมิแพ้ทางตา ก่อนการฟิตติ้งคอนแทคเลนส์ทุกครั้ง จะต้องมีการตรวจสุขภาพตาเบื้องต้น โดยเมื่อตรวจอย่างละเอียดแล้ว พบว่ามีขนตาที่งอทิ่มเข้าตาอยู่เพียง 1 เส้นเท่านั้น
ภาพถ่ายสุขภาพตาจาก Slit lamp
- ตาขวา
- ตาซ้าย
- ภาพขยายตาขวาที่เปลือกตาล่าง พบขนตาเพียง 1 เส้นที่งอกและงอเข้าหาดวงตา โดยที่ตัวคุณเอก็ไม่ทราบเรื่องนี้มาก่อน เมื่อขนตาทิ่มตา ทำให้เกิดอาการระคายเคืองตา รู้สึกเหมือนมีอะไรอยู่ที่ตา ทำให้คุณเอชอบขยี้ตาข้างขวาบ่อยๆ เป็นระยะเวลาหลายปี จนทำให้เกิดเป็นกระจกตาโป่งพอง (Keratocons)
ภาพถ่ายแผนที่กระจกตา (Topography) : ตาขวา (ภาพซ้าย) จะมีสีแดงที่แสดงถึงลักษณะที่นูนออกมาของกระจกตา
หมอเบิร์ดได้แนะนำให้คุณเอใส่ Scleral lens ที่เป็นเลนส์กึ่งแข็งกึ่งนิ่มขนาดใหญ่กว่าตาดำ เพื่อช่วยแก้ไขค่าสายตาให้มีการมองเห็นที่ชัดขึ้น เนื่องจากคุณเอมีค่าสายตาเอียงถึง -6.50 D (เอียงหกร้อยห้าสิบไดออปเตอร์) ซึ่งทำให้เห็นภาพซ้อน อีกทั้ง Scleral lens นี้เป็นเลนส์ที่ขอบเลนส์วางอยู่บนตาขาว และไม่สัมผัสโดนส่วนที่โป่งของกระจกตา ทำให้เวลาใส่สบายตามมากขึ้น และลดโอกาสกระจกตาขุ่นอันเนื่องมาจากการเสียดสีของเลนส์กับกระจกตาที่โป่ง
ภาพถ่าย Slit lamp เมื่อใส่ Scleral lens ที่ตาขวา
ในเบื้องต้นหมอเบิร์ดได้ทำการถอนขนตาเจ้าปัญหาเส้นนั้นออก และแนะนำให้คุณเอพบหมอเพื่อทำการจี้สลายขนตาเส้นนี้ออก