กระจกตาไม่เรียบ (Irregular Cornea)
กระจกตาไม่เรียบเป็นหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้คนเรามองเห็นไม่ชัด และเห็นภาพมีเงาซ้อน ซึ่งเป็นความผิดปกติของกระจกตาที่เกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น ประสบอุบัติเหตุ โรคตา การผ่าตัดตา ฯลฯ
ลักษณะของกระจกตาปกติ
กระจกตาปกติ (Regular Cornea) ควรมีความใสและความเรียบ
ที่มา : https://www.eyesurgery.org/cornea-new-york/
กระจกตาเรียบ (Regular Cornea) และ กระจกตาไม่เรียบ (Irregular Cornea) ในผู้ป่วยกระจกตาโป่ง
ที่มา : https://www.theeyefoundation.com/keratoconus-treatment
กระจกตาขุ่น (Cornea Opacity) จะเห็นเป็นฝ้าสีขาวซึ่งจะบดบังการมองเห็น
ที่มา : https://www.synergyeye.com/disease-corneal-opacity.html
กระจกตาไม่เรียบเป็นอย่างไร
กระจกตาไม่เรียบทำให้เกิดการมองเห็นภาพไม่ชัด และเห็นเงาซ้อน (สายตาเอียง) ซึ่งสายตาเอียงที่เกิดจากกระจกตาแบ่งได้ 2 ประเภท คือ
- Regular Astigmatism คือ สายตาเอียงที่มีแกนองศาที่แน่นอน กระจกตามีความเป็นระเบียบ สามารถแก้ไขด้วยแว่นได้
- Irregular Astigmatism คือ สายตาเอียงที่เกิดจากกระจกตาไม่เรียบ แกนองศาไม่แน่นอน ไม่สามารถแก้ไขด้วยแว่นสายตาได้ การแก้ไขที่ดีที่สุดคือการใส่คอนแทคเลนส์ชนิดกึ่งนิ่มกึ่งแข็ง ซึ่งจะทำให้ความคมชัดในการมองเห็นเพิ่มขึ้นสูงสุด
(A) Regular Astigmatism สีแต่ละสีบ่งบอกถึง (B) Irregular Astigmatism สีแต่ละสีบ่งบอกถึงความ
ความโค้งของกระจกตาในแต่ละแกน โค้งของกระจกตาในแต่ละแกนซึ่งไม่มีความ
ซึ่งมีความเป็นระเบียบ และมีความสมมาตรกัน เป็นระเบียบ
ที่มา : http://www.vision-and-eye-health.com/keratoconus.html
กระจกตาไม่เรียบเกิดจากสาเหตุใดได้บ้าง
สาเหตุของกระจกตาไม่เรียบ สามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุ ดังนี้
- โรคตาต่างๆที่ทำให้กระจกตาบางลง เช่น Keratoconus, Keratoglobus และ Pullucid Marginal Degeneration
- โรคกระจกตาติดเชื้อ ทำให้มีแผลเป็นที่กระจกตาหลังทำการรักษา เช่น ติดเชื้อแบคทีเรีย หรือเชื้ออะมีบา
- อุบัติเหตุที่กระทบกับกระจกตาโดยตรง เช่น โดนวัตถุใดๆทิ่มกระจกตา หรืออุบัติเหตุจากการเล่นกีฬา
- การผ่าตัดทางตา เช่น การผ่าตัดเปลี่ยนกระจกตา หรือผลข้างเคียงหลังทำการผ่าตัดแก้ไขค่าสายตา (LASIK)
ผลเสียจากกระจกตาไม่เรียบ
เมื่อกระจกตาไม่เรียบ ทำให้มองเห็นภาพไม่ชัดที่เกิดจากค่าสายตาเอียงซึ่งไม่สามารถแก้ไขด้วยแว่นตาเพื่อการมองเห็นสูงสุดได้ ในสายตาเอียงที่เกิดจาก Regular Astigmatism แสงที่เข้าสู่ตาไม่ตกกระทบที่จอประสาทตา สายตาเอียงจะมองเห็นภาพในสองแนวแกนชัดไม่เท่ากัน โดยจะเห็นแนวแกนหนึ่งชัดกว่าอีกแนวแกนหนึ่งที่ตั้งฉากกันเสมอ ยกตัวอย่างเช่น มองเห็นเส้นแนวนอนชัด แต่มองเห็นเส้นแนวตั้งไม่ชัด
รูปภาพแสดงให้เห็นถึงสายตาเอียงแบบ Regular Astigmatism (focal point คือตำแหน่งที่แสงตกกระทบภายในจอประสาทตา)
ที่มา : https://www.rosineyecare.com/astigmatism/
แต่ในคนที่กระจกตาไม่เรียบนั้นจะส่งผลให้เกิดสายตาเอียงแบบ Irregular Astigmatism ซึ่งแสงที่เข้าสู่ตาจะฟุ้งกระจายเป็นหลายแกนจากความไม่เรียบ ทำให้มีแกนที่มองเห็นไม่ชัดเยอะ ส่งผลให้ไม่สามารถแก้ไขด้วยแว่นสายตาได้ เนื่องจากแว่นสายตาจะแก้ค่าสายตาเอียงให้ชัดได้เพียงแกนเดียว แต่ในผู้ป่วยกระจกตาไม่เรียบ จะมีแกนองศาเอียงมากกว่า 2 แกน
รูปภาพสายตาเอียงแบบ Irregular Astigmatism แสดงถึงแสงที่เข้าสู่ตามีความฟุ้งกระจายเป็นหลายแกนจากความไม่เรียบของกระจกตาในผู้ป่วยโรค Keratoconus (กระจกตาโป่ง)
ที่มา : https://defeatkeratoconus.com/vision-disturbances-of-keratoconus/
การรักษากระจกตาไม่เรียบ
การรักษากระจกตาไม่เรียบนั้นจะรักษาตามความรุนแรงของอาการ ดังนี้
- ในกรณีที่ไม่สามารถใส่คอนแทคเลนส์ได้ หรือใส่แล้วไม่ช่วยให้มองเห็นชัดเจนขึ้น คนไข้อาจจะต้องได้รับการผ่าตัด เช่น การทำ Intracorneal ring segments implantation (ICRS) ซึ่งจะเป็นการใส่ ring เข้าไปในกระจกตาเพื่อไม่ให้กระจกตาโป่งมากขึ้น และช่วยลดความโค้งกระจกตา ทำให้ค่าสายตาเอียงลดลงด้วย
- หากกระจกตาไม่เรียบจนทำให้เกิดความขุ่น คนไข้อาจจะต้องได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนกระจกตา (corneal transplant)
- การผ่าตัดที่กำลังฮือฮาในต่างประเทศในปัจจุบัน คือ วิธี Corneal collagen cross link (CXL) เป็นการแช่กระจกตาด้วยสาร Ribroflavin แล้วตามด้วยการยิงกระจกตาด้วยแสงเลเซอร์ เพื่อเพิ่มความแข็งแรงในเนื้อกระจกตา
การแก้ไขการมองเห็นในคนไข้กระจกตาไม่เรียบ
คนไข้ที่มีกระจกตาไม่เรียบ จะทำให้เกิดค่าสายตาเอียง (Irregular Astigmatism) ที่ไม่สามารถแก้ไขด้วยแว่นสายตาได้ทั้งหมด ทำให้ผู้ป่วยเห็นภาพเป็นเงาซ้อน ซึ่งในกรณีนี้การแก้ไขที่จะทำให้ผู้ป่วยกลับมามองเห็นได้ชัดเจนที่สุด คือ การใส่คอนแทคเลนส์กึ่งแข็งกึ่งนิ่มชนิดใหญ่กว่าตาดำ (Scleral Lens) เนื่องจากมีขนาดใหญ่กว่าตาดำ และเลนส์ไม่สัมผัสกับกระจกตา ทำให้ไม่ระคายเคืองตา และเลนส์ยังหลุดจากตาได้ยากอีกด้วย
ที่มา : https://www.allaboutvision.com/contacts/scleral-lenses.htm