ข้อแตกต่างระหว่างการใช้ Orthokeratology contact lenses กับ การผ่าตัดแก้ไขสายตาผิดปกติ (Lasik/ Femto Lasik) (ATL018)

ข้อแตกต่างระหว่างการใช้ Orthokeratology contact lenses กับ การผ่าตัดแก้ไขสายตาผิดปกติ (Lasik/ Femto Lasik) (ATL018)

การแก้ไขสายตาผิดปกติ เช่น สายตาสั้น (Myopia) สายตายาว (Hyperopia) และ สายตาเอียง Astigmatism สามารถแก้ได้หลายวิธี ซึ่งในบทความนี้จะอธิบายถึงความแต่ต่างระหว่าง การใช้ โอเคเลนส์ (Orthokeratology Contact lenses) และ การผ่าตัด (Lasik) 

 

OK Lenses คืออะไรและแก้ไขค่าสายตาได้อย่างไร ?

OK lens คือชื่อของคอนแทคเลนส์ชนิดกึ่งนิ่มกึ่งแข็งที่ออกแบบผิวด้านหลังแบบ Reverse Geometry ใช้สำหรับใส่นอนเพื่อแก้ไขปัญหาสายตา และถอดออกเมื่อตื่น โดยระหว่างวันผู้ใช้เลนส์ไม่จำเป็นต้องใส่คอนแทคเลนส์หรือแว่นตา ก็สามารถมองเห็นได้ชัดเจน

ที่มา : https://www.clspectrum.com/issues/2017/december-2017/elevate-your-ortho-k-fitting-to-the-next-level

OrthoK lens แก้ไขค่าสายตาโดย การปรับความโค้งของกระจกตาโดยไม่ทำให้กระจกตาบางลง  เมื่อความโค้งกระจกตาเหมาะสมกับค่าสายตา ก็จะทำให้แสงโฟกัสพอดีที่จอตาและมองเห็นได้ชัดเจนขึ้น

ที่มา : https://www.allaboutorthok.net/eye-care-services/myopia-management-optometrist/how-orthok-works/

 

OK lens เหมาะสำหรับใครบ้าง ? 

สำหรับการแก้ไขปัญหาสายตา OK Lens เหมาะกับบุคคลต่างๆดังนี้

  • บุคคลทั่วไปที่ไม่ต้องการใส่แว่นตาหรือคอนแทคเลนส์ในเวลากลางวัน
  • ผู้ที่ต้องการทำเลสิกแต่มีข้อจำกัดในการทำ เช่น สายตายังไม่คงที่ อายุน้อยกว่า 18 ปี หรือกระจกตาไม่เหมาะกับการทำเลสิก
  • ผู้ที่ใส่คอนแทคเลนส์ และมีปัญหาตาแห้ง
  • อาชีพบางอาชีพที่ไม่เหมาะกับการใส่แว่นตาหรือคอนแทคเลนส์ เช่น ทหาร ตำรวจ นักบิน แอร์โฮสเตส นักผจญเพลิง ฯลฯ
  • นักเรียนเตรียมทหาร นักเรียนนายร้อย นักเรียนนายสิบ นักเรียนจ่า นักเรียนช่างฝีมือทหาร นักเรียนพาณิชนาวี นักเรียนไฟฟ้า ฯลฯ
  • ผู้ที่มีปัญหาตาแห้งมากจากการขึ้นเครื่องบิน
  • ผู้ที่ตาแห้งมากเกินไป แพทย์ไม่แนะนำให้ทำเลสิก หรือ PRK
  • เด็กที่ต้องการควบคุมสายตาสั้น เด็กที่สายตาสั้นเพิ่มขึ้นทุกปี
  • นักกีฬา ที่ไม่สะดวกในการใช้แว่นตาหรือคอนแทคเลนส์ นักกีฬาที่ต้องมีการปะทะ เช่น นักกีฬาเทควันโด ชกมวย ยูโด ฟุตบอล รักบี้ฟุตบอล ฯลฯ
  • ผู้ทีมีกิจกรรมทางน้ำ เช่น ว่ายน้ำ ดำน้ำ เจ็ตสกี ฯลฯ
  • ช่วงค่าสายตาที่เหมาะสม สั้นไม่เกิน -10.00 D (หนึ่งพัน) ยาวไม่เกิน +4.00 D (สี่ร้อย)

OK Lens ไม่เหมาะกับใครบ้าง ?

  • ผู้ที่ดวงตาอักเสบ ติดเชื้อ ต้องได้รับการรักษากับจักษุแพทย์จนหายดีก่อน
  • ผู้ที่มีแผลเป็นที่กระจกตา ควรเข้ารับการตรวจประเมินก่อน
  • ผู้ที่มีประวัติการติดเชื้อที่กระจกตาบางชนิดเช่น Herpes Keratitis
  • ผู้ที่มีกระจกตาแบนหรือนูนหรือเอียงมากเกินไป อาจทำให้การแก้ไขค่าสายตาได้ยากขึ้น
  • ผู้ที่ค่าสายตาสั้นมาก ร่วมกับรูม่านตามีขนาดใหญ่
  • ผู้ที่ค่าสายตาสั้นมาก ร่วมกับต้องมีการขับรถตอนกลางคืน

 

เลสิก (LASIK) คืออะไร ?

LASIK คือ การผ่าตัดแก้ไขสายตาผิดปกติอย่างถาวรด้วยแสงเลเซอร์ เพื่อปรับความโค้งกระจกตาโดยทำให้กระจกตาบางลง วิธีการผ่าตัดจะมีการแยกชั้นของกระจกตาด้านบน ให้ได้ความหนาตามที่ต้องการ แล้วยกชั้นของกระจกตาที่แยกแล้วขึ้น เพื่อใช้ Excimer Laser ยิงไปบนชั้นกระจกตาชั้นกลาง เพื่อปรับความโค้ง แล้วจึงปิดกระจกตากลับลงไปโดยไม่ต้องเย็บ กระจกตาสามารถติดกันเองได้ตามธรรมชาติ

ขั้นตอนการทำเลสิก (LASIK)

            การทำเลสิกจะต้องผ่านการพิจารณาของจักษุแพทย์ก่อนว่าสามารถทำได้หรือไม่ โดยจักษุแพทย์จะพิจารณาจากหลายสาเหตุ เช่น อายุ ความหนาของกระจกตาเพียงพอกับค่าสายตาที่จะแก้ไขหรือไม่ ไม่มีโรคทางกระจกตา เช่น กระจกตาโป่งพอง กระจกตาย้วย จอตาเสื่อม ฯลฯ ซึ่งขั้นตอนการทำเลสิกมีดังนี้

  1. หลังจากหยอดยาชา และยาฆ่าเชื้อ คุณหมอจะเริ่มทำการแยกชั้นกระจกตาของคนไข้ทีละข้าง โดยใช้ Laser หรือใบมีด ตามความหนาที่คำนวณไว้

 

2. การแยกชั้นกระจกตา และทำการเปิดผิวกระจกตาขึ้นมาเพื่อที่จะทำการยิงเลเซอร์ในขั้นตอนต่อไป

 

3. การยิงเลเซอร์ลงไปในชั้น Stroma ของกระจกตา เพื่อทำการปรับเปลี่ยนความโค้งตามค่าสายตาที่ได้คำนวนไว้ ซึ่งขั้นตอนนี้จะทำให้กระจกตาบางลง

 

4. หลังจากยิงเลเซอร์เพื่อปรับเปลี่ยนความโค้งกระจกตาเรียบร้อยแล้ว แพทย์จะนำผิวของกระจกตาที่เปิดค้างไว้กลับมาไว้ในตำแหน่งเดิม โดยจะครอบอยู่เหนือบริเวณที่ทำการยิงเลเซอร์พอดี

ที่มา : https://lasikcenter.eent.co.th/meaning/

การทำ Lasik เหมาะกับใคร?

  • ผู้ที่ไม่อยากใส่แว่น หรือคอนแทคเลนส์ เพราะทำให้เสียบุคลิคภาพ เช่น การใส่แว่นตาหนาเตอะ หรือใส่คอนแทคเลนส์นานเกินไปตาก็จะแดง
  • ผู้ที่ชอบออกกำลังกาย หรือ เล่นกีฬาบางประเภทที่ไม่สะดวกในการใส่แว่น หรือคอนแทคเลนส์ เช่นการว่ายน้ำ ดำน้ำ, วิ่งระยะไกล
  • ผู้ที่ทำงานในบางอาชีพ ที่ไม่สะดวกที่จะใส่แว่น เช่น แอร์ฮอสเตส นักบิน ตำรวจ ทหาร ฯลฯ

ใครไม่เหมาะสมกับการทำ Lasik บ้าง ?

  • องค์การอาหารและยาสหรัฐอเมริกา (FDA) ระบุว่า ผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี ยังไม่ควรทำเลสิก เนื่องจากค่าสายตายังไม่คงที่
  • ผู้ที่มีตาที่ใช้งานได้ดีเพียงข้างเดียว
  • ผู้ที่มีโรคเกี่ยวกับตา หรือมีประวัติเจ็บป่วยเกี่ยวกับดวงตา เช่น โรคกระจกตาย้วย หรือกระจกตารูปกรวย (Keratoconus) เปลือกตาอักเสบเรื้อรัง เป็นแผลที่กระจกตา จอประสาทตามีรู ผิวตาดำไม่เรียบ ตาแห้งรุนแรง โรคต้อกระจก โรคต้อหิน โรคจอตาเสื่อม
  • หญิงตั้งครรภ์และหญิงที่อยู่ระหว่างให้นมบุตร เนื่องจากเป็นช่วงที่ร่างกายมีการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ค่าสายตาไม่คงที่
  • ผู้ติดเชื้อ HIV ไม่เหมาะกับการทำเลสิก เนื่องจากผู้ที่มีเชื้อ HIV จะมีไวรัส cytomegalovirus ที่มีผลกับการมองเห็น หากทำเลสิกไปแล้ว การมองเห็นอาจไม่ได้ผลลัพธ์ที่ดีมากเท่าผู้ที่ไม่ติดเชื้อ
  • ผู้ป่วยที่มีโรคต้านเนื่อเยื่อของตนเอง เช่น โรค SLE โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ โรคของเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน ไม่ควรทำเลสิก เพราะหลังผ่าตัด การสมานแผลที่กระจกตาอาจมีความผิดปกติ
  • ผู้ป่วยโรคเบาหวาน เพราะบาดแผลจะหายช้า โดยเฉพาะในกลุ่มคนไข้ที่ควบคุมโรคเบาหวานได้ไม่ดี ระดับน้ำตาลในเลือดสูงมาก ยิ่งเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนได้
  • ผู้ป่วยโรคหัวใจ โรคมะเร็ง ซึ่งอยู่ระหว่างการรักษา เพราะอาจเกิดฝ้าขาวที่กระจกตาหลังทำเลสิกได้
  • ผู้ป่วยจิตเวช หรือผู้ที่มีปัญหาทางจิตใจ เพราะอาจไม่เข้าใจผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นได้หลังการทำเลสิก หรืออาจมีความคาดหวังกับผลลัพธ์ในการทำเลสิกสูงเกินกว่าคนทั่วไป

*****อยากทำ Lasik แต่สายตาสั้นยังเพิ่มขึ้นทุกปี ควรทำอย่างไร ? สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://drbirdcl.com/2020/08/20/myopia-and-lasik/ *****

ตารางสรุปความแตกต่างระหว่าง OrthoK Lens กับ Lasik

แชร์ไปที่ :

บทความอื่นๆ

ติดต่อนัดหมาย